TEL : 06-234567-55 ถึง 59 LINE :@sbobet.club

กีฬาเซปักตะกร้อ ประวัติ กติกา ประโยชน์และหน้าที่พื้นฐาน

Espak-muzzle-sbobet-club-game

อีกกีฬาชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันดีมากๆ นั่นคือ เซปักตะกร้อ หรือเรามักเรียกกันง่ายๆ ว่าตะกร้อ กีฬาชนิดนี้ถือเป็นกีฬาที่คนไทยเล่นกันมานานตั้งแต่อดีต รวมถึงยังเรียกว่าเป็นเจ้าแห่งกีฬาชนิดนี้ก็ไม่ผิดนัก เนื่องจากยังเป็นกีฬาที่นิยมเล่นเฉพาะในแถบเอเชีย ทำให้คนไทยที่คุ้นเคยกับกีฬาชนิดนี้ดีค่อนข้างได้เปรียบ และมักทำผลงานได้ดีเสมอเมื่อต้องแข่งกับบรรดาประเทศต่างๆ ทั้งในอาเซียนและเอเชีย

ประวัติกีฬาเซปักตะกร้อ

ต้องบอกว่ากีฬาชนิดนี้ไมสามารถหาหลักฐานต้นกำเนิดที่ชัดเจนได้ รู้เพียงแต่ว่าจุดเริ่มต้นมาจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น เพราะประเทศที่มีความสามารถในการเล่นทั้งไทย, มาเลเซีย, พม่า ต่างก็บอกว่าตนเองคือต้นตำรับแห่งการเล่นกีฬาตะกร้อ แต่ถ้าหากเป็นประวัติในเมืองไทยคาดกันว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น ในอดีตไม่ได้มีการจำกัดจำนวนคนเล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ส่วนประเทศพม่าเมื่อราวปี 2310 มีการตั้งค่ายบริเวณโพธิ์สามต้น ทำให้เกิดการเล่นกีฬาชนิดนี้ขึ้นให้ชื่อว่า ชิงลง ขณะที่มาเลเซียได้มีการประกาศกร้าวออกมาว่ากีฬาตะกร้อนี้เป็นกีฬาพื้นเมืองของชาวมลายูเรียกว่า Sepak raga หมายถึง ตะกร้า ฝั่งฟิลิปปินส์นิยมเล่นด้วยเหมือนกันโดยใช้ชื่อว่า Sipak นั่นทำให้ไม่สามารถหาหลักฐานชัดเจนของกีฬาชนิดนี้ได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากอะไร กระนั้นกีฬาเซปักตะกร้อค่อยๆ พัฒนามากขึ้นจนมีการตั้งกติกามาตรฐานสากลให้ทุกๆ ชาติที่เล่นกีฬาประเภทนี้ได้ปฏิบัติตรงกันจนกลายเป็นกีฬายอดนิยมอันดับต้นๆ ของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปโดยปริยาย

sbobet-club-game-Espak-muzzle

กติกาพื้นฐานการเล่นเซปักตะกร้อ

  • สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 13.4 ม. กว้าง 6.1 ม. พื้นปูด้วยพลาสติก แบ่งเขตแดนเป็น 2 ส่วนขนาดเท่ากัน มีจุดยืนฝั่งละ 3 จุด คือมุมตาขาย 2 ข้าง และ จุดวงกลมตรงกลางสำหรับคนเสิร์ฟ 1 จุด โดยจุดตรงกลางเรียกว่า Back ส่วนคนยืน 2 ข้างเรียกว่า หน้าซ้าย หน้าขวา
  • ตาขายของเซปักตะกร้อกว้าง 70 ซม. ยาวไม่เกิน 6.1 ม. ของผู้ชายสูง 1.52 ม. ผู้หญิงสูง 1.42 ม.
  • ลูกเซปักตะกร้อสมัยใหม่ทำจากพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42-45 ม. มีรูตรงกลางรวม 12 รู จุดตัดไขว้ 20 จุด
  • แต่เดิมกีฬาเซปักตะกร้อจะเล่นกัน 3 คน แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มตะกร้อ 2 คนและตะกร้อลอดห่วงขึ้นมาเพื่อให้สนุกสนานและเป็นการเพิ่มจำนวนเหรียญในการแข่งขันกีฬา
  • การเล่นฝ่ายทีเสิร์ฟต้องเสิร์ฟให้ข้ามตาข่ายไปยังฝั่งตรงข้าม ในการเล่น 1 ครั้งเพื่อเอาแต้มจะเล่นได้ไม่เกิน 3 จังหวะ หากจังหวะ 3 ลูกยังไม่ข้ามไปแดนฝ่ายตรงข้ามถือว่าเสียแต้มทันที โดยการนับคะแนนจะนับทีละ 1 คะแนน ไปเรื่อยๆ
  • การเล่นเซปักตะกร้อจะคิดเกมละ 15 คะแนน โดยต้องเอาชนะให้ได้ 2 ใน 3 เกม กรณีแต้ม 14 เท่ากันต้องหาผู้ชนะโดยคะแนนแต้มห่าง 2 แต้ม แต่แต้มสูงสุดต้องไม่เกิน 17 แต้ม หากใครถึง 17 แต้มก่อนคือผู้ชนะ

sbobet-club-Espak-muzzle-game

ประโยชน์ของการเล่นเซปักตะกร้อ

  • ช่วยฝึกเรื่องของไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เนื่องจากเวลาฝ่ายตรงข้ามฟาดลูกกลับมาเราจะไม่รู้เลยว่าลูกจะลงตรงไหน ดังนั้นหากเกี่ยวลูกเล่นกลับมาได้ต้องอาศัยไหวพริบ และการตัดสินใจเล่น
  • ฝึกความว่องไวของร่างกาย การเคลื่อนที่รวดเร็ว เพราะการเล่นตะกร้อเกมจะค่อนข้างไปเร็วมาก บางทีแทบจับตามองไม่ทันด้วยซ้ำ
  • ได้ใช้กำลังขาในการเล่นอย่างเต็มที่ ทั้งการวิ่ง การเดาะลูก การเสิร์ฟ การชง และการตบ เรียกว่าทุกตำแหน่งกำลังขาต้องดีมาก
  • รู้จักการทำงานเป็นทีมเพราะการเล่นกีฬาประเภทนี้ทั้ง 3 ตำแหน่งมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด หากขาดตำแหน่งใดไปทีมจะไม่สมบูรณ์แบบ

หน้าที่พื้นฐานของแต่ละตำแหน่งในการเล่นเซปักตะกร้อ

เราเข้าใจกันว่าหน้าที่ของคนเล่นเซปักตะกร้อก็เหมือนๆ กันคือพยายามเสิร์ฟลูกให้ฝ่ายตรงข้ามรับยาก รับลูกฝ่ายตรงข้ามตบมาให้ได้ ตั้งแล้วชงให้ตบ แต่จริงๆ หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งที่หลักๆ จะรู้ตนเองกันอยู่แล้ว

  • ตำแหน่ง Back หรือคนเสิร์ฟ หน้าที่หลักคือการเสิร์ฟโดยต้องเสิร์ฟให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากที่สุด
  • หน้าซ้ายและหน้าขวา อันนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดว่าใครพื้นฐานดีก็ให้ชงส่วนใครลีลาดีให้เป็นตัวตบทำคะแนน