ประวัติ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง “ ซิโก้ ” ตำนานนักบอลไทย
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เจ้าของฉายากองหน้าจอมตีลังกา เกิดในวันที่ 11 สิงหาคม 2516 มีชื่อเล่นว่า “ ซิโก้ ” ปัจจุบันอายุ 41 ปี บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี มีส่วนสูง 171 เซนติเมตร เป็นบุตรชายคนสุดท้อง โดยมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เกิดโดยสุริยา (บิดา) และริสม (มารดา) ซิโก้มีพี่สาวทั้งหมด 2 คน ต่อมาครอบครัวได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เริ่มแรกซิโก้ศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองแดง อำเภอกุมภวาปี จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงชั้น 6 ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แล้วได้ไปศึกษาต่อในระดับอนุปริญญา สาขาการบัญชี ที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ และได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ และได้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองสมรสกับอัสราภา (สกุลเดิม: วุฒิเวทย์) มีบุตรสาวด้วยกันสามคน
ประวัติการค้าแข้งของซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
จุดเริ่มของซิโก้ในวงการนักฟุตบอลมืออาชีพเล่นให้กับทีมธนาคารกรุงไทยตั้งแต่ปี 2532-2538 โดยได้ลงแข่งทั้งหมด 145 นัดทำประตูไปได้ถึง 98 ประตู ซึ่งในปี พ.ศ. 2533 ซิโก้ก็ได้เข้าไปเล่นในระดับประเทศโดยติดทีมชาติชุดเยาวชนในการแข่งขันที่มาเลเชีย ต่อมาก็ได้ติดทีมชาติไทยชุดใหญ่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2536 ในรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 24 และยังได้ไปแข่งในรายการฟุตบอลเมอร์ไลออนคัพ ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยทำผลงานได้เป็นที่น่าพอใจในการแข่งเมื่อซิโก้ยิงประตูแรกให้กับทีมชาติไทยชุดบีในวันที่ 9 กันยายน ซึ่งทำให้ทีมชาติไทยเอาชนะทีมชาติโปแลนด์ 1 ประตูต่อ 0 และเป็นประตูที่ 100 แถมยังสามารถเอาชนะสิงคโปร์ไป 2 ประตูต่อ 0 ในการแข่งขันคิงส์คัพครั้งที่ 37 วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้ช่วยทีมชาติไทยคว้าเหรียญทองแชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 17, 18 และ 19 แถมยังได้แชมป์เอเชียนเกมส์สองสมัยติดต่อกันคือ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2541 และครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2545 แล้วยังสามารถทำแฮตทริกในการแข่งทีมชาติได้ถึง 4 ครั้ง ถือเป็นนักเตะที่ทำประตูให้ทีมชาติไทยชุดใหญ่ได้มากที่สุดถึง 70 ประตูจากการลงแข่ง 131 นัด ได้ถูกบันทึกไว้ในฟีฟ่า ซึ่งในปี 2542 ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นคนไทยคนแรกที่ได้มีโอกาสเซ็นสัญญาเป็นนักเตะอาชีพในลีกอังกฤษให้กับทีมฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ เนื่องจากไปเล่นต่างบ้านจึงทำให้มีปัญหาการปรับตัวในเรื่องของสภาพอากาศจึงต้องใช้เวลาเลยส่งผลให้ ซิโก้ ได้เป็นเพียงแค่ตัวสำรองและไม่ได้ลงเล่นตลอดฤดูกาล เนื่องจากปัญหานี้เลยทำให้ซิโก้คิดที่จะกลับมาเล่นในประเทศไทยให้กับทีมราชประชา ซึ่งทำผลงานออกมาได้เป็นอย่างดีด้วยจากการลงแข่ง 26 นัด ทำได้ 18 ประตู จนทีมสิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ ต้องมาดึงตัวแล้วยังได้ไปเล่นให้กับทีมฮอง อันห์ ยาลาย ของประเทศเวียดนาม และทำผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมโดยการทำไปทั้งหมด 59 ประตู จากการลงแข่ง 75 นัดในปี 2545-2549 จึงทำให้ ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นที่รู้จักไปทั่วเอเชีย
ประวัติของซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ในฐานะผู้จัดการทีม
ในช่วงปีพ.ศ. 2545-2546 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ก็ได้เริ่มรับหน้าที่เป็นโค้ชฝึกสอนให้กับเยาวชนทั่วประเทศ ในโครงการซิโก้ทิปส์ สัญจร เพื่อสอนทักษะการเล่นบอลผ่านทางรายการทีวี ต่อมาในปีพ.ศ. 2549 ซิโก้ผ่านการฝึกอบรบผู้ฝึกสอนระดับบี (B License) จากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีม โดยคุมทีมให้กับสโมสรฟุตบอลฮหว่างอัญซาลาย (ฮอง อันห์ ยาลาย) ซึ่งก็ยังเป็นผู้เล่นอยู่ในสโมสรนี้อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้ประกาศแขวนสตั๊ด ซิโก้ได้ทำหนังสือและผลิตรายการทีวีฟุตบอลไปด้วยแถมยังรับตำแหน่งผู้อำนวยการ สถาบันฝึกสอนฟุตบอลของกรุงเทพมหานคร และได้มารับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมอย่างเต็มตัวให้กับสโมสรฟุตบอลจุฬาฯ-สินธนา ซึ่งเป็นทีมที่พึ่งได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551 พอจบฤดูกาลสโมสรดังกล่าวอยู่ในอันดับที่ 8 หลังจากนั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ก็ได้ย้ายไปรับหน้าที่เป็นหัวหน้าโค้ชฝึกให้กับสโมสรฟุตบอลชลบุรีในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2552 โดยทำผลงานเป็นที่น่าพอใจสามารถคว้าอันดับที่ 2 ของลีกในฤดูกาลนั้นไปได้แถมยังพาทีมเข้าไปถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในการแข่งรายการเอเอฟซีคัพ แต่พอจบการแข่งขันซิโก้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถพาทีมคว้าแชมป์ได้นั้นเอง
ในปี พ.ศ. 2553 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ก็ได้กลับไปรับตำแหน่งผู้จัดการทีมให้สโมสรฮหว่างอัญซาลาย แต่ก็ยังทำผลงานออกมาได้ไม่ค่อยดีนักเมื่อจบฤดูกาลทำได้เพียงแค่อันดับที่ 7 ของวี-ลีก เท่านั้น ในปีถัดไป ซิโก้ กลับไปรับหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลบีบีซียูในการแข่งรายการไทยลีกดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาลคว้าได้เพียงอันดับที่ 3 แต่ถึงจะไม่ชนะเลิศก็เพียงพอที่จะทำให้สโมสรเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก ทว่าก็ทำผลงานออกมาได้ไม่ค่อยดีโดยทีมชนะเพียง 1 นัดจากการลงสนามทั้งหมด 10 นัด ซิโก้จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 และไปรับหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับสโมสรฟุตบอลบางกอก เอฟซีในไทยลีกดิวิชั่น 1 ซึ่งในขณะนั้นทีมได้อยู่อันดับท้ายของตาราง ซึ่งซิโก้ก็สามารถพาทีมขึ้นมาเป็นอันดับที่ 10 ก่อนจบฤดูกาลทำให้รอดจากการตกชั้นไปได้ ซึ่งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2556 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้รับแต่งตั้งจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้รับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลชายทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี โดยได้พาทีมลงสนามแข่งกระชับมิตรกับทีมชาติจีน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ในการแข่งทีมชาติไทยเล่นได้ดีกว่าเอาชนะไปได้ถึง 5 – 1 ถือว่าเป็นการทำประตูสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยในปีนั้น และซิโก้ยังได้พาทีมชาติไทยชุดนี้ไปคว้าแชมป์เหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 27 ที่กรุงเนปยีดอของเมียนมาร์ได้สำเร็จ โดยรอบชิงชนะเลิศทีมชาติไทยได้พบกับทีมชาติอินโดนีเซีย ทีมไทยเอาชนะไปได้ 1 – 0 ถือว่าเป็นผลงานที่ดีเยี่ยมในเส้นทางการเป็นโค้ชของซิโก้ และยังได้พาทีมไทยชุดเดียวกันไปแข่งในกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2557 ที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ ก็ยังโชว์ฟอร์มออกมาได้อย่างดีโดยเสียประตูไปเพียง 3 ลูกจากการแข่งชนะ 5 นัดแรกแต่ก็ยังไม่พอที่จะทำให้ได้แชมป์จบฤดูกาลทีมไทยได้เป็นอันดับที่ 4 ซึ่งในปีนั้นเองช่วงเดือนธันวาคมเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองก็ได้นำทัพทีมไทยไปคว้าแชมป์ในรายการแข่งเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 ซึ่งเป็นสมัยที่ 4 รอบชิงชนะเลิศทีมชาติไทยพบกับทีมชาติมาเลเซีย เราสามารถเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์รวมสองนัดทำได้ 4 – 3
รางวัลในนามนักเตะทีมชาติไทย
• ปี พ.ศ. 2536 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 17 ประเทศสิงคโปร์ (สมัยที่ 1)
• ปี พ.ศ. 2537 แชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ประเทศไทย แชมป์อินดิเพนเด้นท์ ณ ประเทศอินโดนีเซีย
• ปี พ.ศ. 2537 แชมป์ฟุตบอลอินดิเพนเด้นท์คัพ ครั้งที่ 7
• ปี พ.ศ. 2538 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ประเทศไทย (สมัยที่ 2)
• ปี พ.ศ. 2539 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 1 ประเทศสิงคโปร์
• ปี พ.ศ. 2540 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย (สมัยที่ 3)
• ปี พ.ศ. 2541 อันดับที่ 4 การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประเทศไทย
• ปี พ.ศ. 2542 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน (สมัยที่ 4) และรางวัลดาวซัลโว
• ปี พ.ศ. 2543 แชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 31 ประเทศไทย
• ปี พ.ศ. 2543 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย และรางวัล MVP นักเตะทรงคุณค่า
• ปี พ.ศ. 2544 เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย
• ปี พ.ศ. 2545 อันดับที่ 4 การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 14 ประเทศเกาหลีใต้ (ปูซาน)
• ปี พ.ศ. 2545 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 4 ประเทศสิงคโปร์-อินโดนีเซีย
รางวัลในนามโค้ชทีมชาติไทย
• ปี พ.ศ. 2557 แชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014
• ปี พ.ศ. 2558 แชมป์คิงส์คัพ
• ปี พ.ศ. 2559 แชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016
รางวัลในระดับสโมสร
• ปี พ.ศ. 2532 แชมป์ ถ้วย ก ธนาคารกรุงไทย
• ปี พ.ศ. 2536 แชมป์ ถ้วย ข ธนาคารกรุงไทย
• ปี พ.ศ. 2541 แชมป์กีฬากองทัพไทยประจำปี
• ปี พ.ศ. 2542 รองแชมป์มาเลเซียซูเปอร์ลีก
• ปี พ.ศ. 2543 รองชนะเลิศฟุตบอลดิวิชั่น1 ประเทศอังกฤษ
• ปี พ.ศ. 2545 แชมป์เอส.ลีก
• ปี พ.ศ. 2546 แชมป์ วี-ลีก : 1 แชมป์ เวียดนามซูเปอร์ คัพ: 1
• ปี พ.ศ. 2547 แชมป์ วี-ลีก : 2 แชมป์ เวียดนามซูเปอร์คัพ: 2
เกียรติประวัติอื่น ๆ
• ปี พ.ศ. 2530 รางวัลดาวซัลโว ฟุตบอลเขตการศึกษาแห่งประเทศไทย
• ปี พ.ศ. 2542 รางวัลดาวซัลโว ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน
• ปี พ.ศ. 2543 เกียรติประวัติผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย “คนต้นแบบ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
• ปี พ.ศ. 2543 รางวัล MVP นักเตะทรงคุณค่า ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไท
• ปี พ.ศ. 2543 รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ESPN
• ปี พ.ศ. 2543 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม ESPN
• ปี พ.ศ. 2544 รางวัลดาราเอเชีย
• ปี พ.ศ. 2544 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 1
• ปี พ.ศ. 2544 รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น Sanyo
• ปี พ.ศ. 2546 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม
• ปี พ.ศ. 2547 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม
• ปี พ.ศ. 2548 รับเข็มเกียรติยศผู้ทำคุณประโยชน์แก่ฟุตบอลเวียดนาม จากรัฐมนตรีกีฬาประเทศเวียดนาม
• ปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน ผู้ให้การสนับสนุนกิจการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
• ปี พ.ศ. 2550 รางวัลโล่ห์เกียรติคุณจาก ชมรม “เชียร์ไทย”
• ปี พ.ศ. 2551 รางวัลสุดยอดคนต้นแบบ เมืองขอนแก่น
• ปี พ.ศ. 2557 รางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8