TEL : 06-234567-55 ถึง 59 LINE :@sc.club

กีฬายกน้ำหนัก กติกา ประวัติ ประโยชน์และนักกีฬาไทย

พื้นฐานของการเล่นยกน้ำหนักคือต้องมีพละกำลังพร้อมร่างกายอันแข็งแรงเป็นทุนเดิมก่อนอยู่แล้ว จากนั้นก็ค่อยไปฝึกฝนร่างกายให้เกิดความแข็งแกร่งในส่วนต่างๆ พร้อมเรียนรู้การยกให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บ ถือกีฬาอีกชนิดที่มีคนไทยเคยคว้าเหรียญรางวัลอย่างเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วย นั่นจึงทำให้กีฬาประเภทนี้ได้รับความนิยมไม่น้อยในบ้านเรา แต่การที่คนจะไปเล่นยกน้ำหนักคงอาจไม่ได้นิยมอะไรมากเหมือนกีฬาทั่วไป

ประวัติกีฬายกน้ำหนัก

สำหรับกีฬายกน้ำหนักในช่วงเริ่มต้นนั้นไม่ได้ถือเป็นกีฬาแบบที่หลายคนเข้าใจกัน ในอดีตคนยุคโบราณมักชอบมีการท้าทายหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องการต่อสู้ การแข่งขันภายในชนเผ่าเดียวกันหรือต่างชนเผ่า สิ่งเหล่านี้นับเป็นเรื่องปกติ ใครมีพละกำลังแข็งแรงมากกว่าก็ต้องการแสดงออกถึงศักยภาพของตนเองให้ออกมาในรูปแบบต่างๆ พูดให้เข้าใจง่ายคือใครคิดว่าตัวเองเก่งอะไรก็จะแสดงความสามารถของความแข็งแกร่งประเภทนั้นออกมา ด้านวิธีวัดความแข็งแกร่งในอดีตมีด้วยกันเยอะมาก เช่น การยกถุงทราย, แบกลูกวัว, ยกเหล็ก, ยกหิน เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของการวัดความแข็งแรงในแต่ละยุคสมัยก็ค่อยๆ พัฒนามากขึ้นไป แน่นอนว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการแข่งขันกีฬาอันเก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุด ดังนั้นเรื่องของกีฬายกน้ำหนักจึงถูกบันทึกเอาไว้เมื่อปี 1896 ถือว่าเป็นการจัดการแข่งขันยกน้ำหนักเป็นครั้งแรก จากนั้นกีฬายกน้ำหนักจึงค่อยๆ แพร่หลายมายังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกและกลายเป็นกีฬาที่คนทั่วไปรู้จักกันอย่างดีมากระทั่งปัจจุบันนี้

sbobet-club-games-Weight-lifting

กติกาพื้นฐานกีฬายกน้ำหนัก

  • ปัจจุบันการแข่งขันยกน้ำหนักแบ่งออกเป็น 2 ท่า คือท่าสแนตช์ กับ คลีน แอนด์ เจิร์ก โดยจะนับคะแนนแต่ละท่ารวมกันแล้วนำมาทำเป็นคะแนนสะสมรวมว่าใครได้น้ำหนักเยอะที่สุด แต่ละท่าจะเรียกน้ำหนักพร้อมยกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
  • การยกท่าสแนตช์ คานน้ำหนักวางอยู่ด้านหน้า คว่ำข้อมือแล้วดึงคานในจังหวะเดียว แขนสองข้างเหยียดตรงเหนือศีรษะ ขาสองข้างแยกออกงอเข่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายยกเว้นเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ จังหวะสุดท้ายคือลุกขึ้นยืนแขนกับขาเหยียดตรงสุด รอสัญญาณจากกรรมการจึงทุ่มคานลงพื้น
  • การยกท่าคลีนแอนด์เจิร์ก จะมีด้วยกัน 2 จังหวะ จังหวะคลีน คานน้ำหนักวางอยู่ด้านหน้า คว่ำข้อมือแล้วดึงคานจังหวะเดียวให้ขึ้นมาอยู่ระดับหัวไหล่ระนาบหน้าอก พักคานไว้บนไหปลาร้า ขาสองข้างเหยียดตรง จังหวะเจิร์ก ให้กระแทกขาข้างที่ถนัดไปด้านหลังพร้อมยกคานน้ำหนักขึ้นสุดแขนเหนือศีรษะ เอนไปด้านหน้าเล็กน้อยกรณียกไม่ไหวจะได้ไม่หล่นโดนตัวเอง แล้วค่อยๆ ดึงขากลับมายืนในท่าตรงพร้อมยกแขนเหยียดตรงรอฟังสัญญาณจากกรรมการจึงทุ่มคานลงพื้น
  • การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดว่าท่ายกของนักยกน้ำหนักนั้นผ่านหมดหรือไม่ หากผ่าน 2 ใน 3 ถือว่าผ่าน
  • กรณีที่นักยกน้ำหนักยกได้เท่ากันหมดจะวัดกันที่น้ำหนักตัวหากใครน้ำหนักตัวเบากว่าจะเป็นผู้ชนะไป
  • ก่อนขึ้นยกสามารถทาแป้งกันลื่นที่มือได้รวมถึงใส่คาดเอวเพื่อป้องกันอันตรายระหว่างการยกได้ด้วย

ประโยชน์ของกีฬายกน้ำหนัก

  • ช่วยฝึกความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพราะกีฬาชนิดนี้ความแข็งแรงของร่างกายถือเป็นเรื่องสำคัญมากกับการยกน้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักตัวของตนเอง
  • ฝึกความอดทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ บางครั้งอาจต้องยกน้ำหนักสูงมากกว่าน้ำหนักที่ตนเองเคยยกแต่ต้องทำให้ได้เพื่อลุ้นการเป็นผู้ชนะ
  • ฝึกสมาธิได้อย่างดี เพราะก่อนการยกทุกครั้งนักยกน้ำหนักต้องรวบรวมสมาธิ คิดให้ดีว่าท่าที่จะยกต้องจัดระเบียบร่างกายอย่างไรจึงจะเหมาะสม สามารถยกขึ้นได้แบบไร้กังวล

นักกีฬายกน้ำหนักไทยที่เคยคว้าเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก

  • อร อุดมพร พลศักดิ์ ได้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 เอเธนส์ เกมส์ ประเทศกรีซ ในรุ่นไม่เกิน 53 กก. หญิง
  • ไก่ ปวีณา ทองสุข ได้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 เอเธนส์ เกมส์ ประเทศกรีซ ในรุ่นไม่เกิน 75 กก. หญิง
  • เก๋ ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ได้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ปักกิ่ง เกมส์ ประเทศจีน ในรุ่นไม่เกิน 53 กก. หญิง
  • แนน โสภิตา ธนสาร ได้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ริโอ เกมส์ ประเทศบราซิล ในรุ่นไม่เกิน 48 กก. หญิง
  • ฝ้าย สุกัญญา ศรีสุราช ได้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ริโอ เกมส์ ประเทศบราซิล ในรุ่นไม่เกิน 58 กก. หญิง